อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในบ้านที่มีผู้สูงอายุ นั่นก็คือ “ห้องน้ำ” เพราะเป็นอีกหนึ่งจุดที่เสี่ยงทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ด้วยสภาวะร่างกายที่เสื่อมสภาพตามอายุ อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงภาวะอันตรายที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ระหว่างนั่งทำภารกิจในห้องน้ำ จังหวะการนั่ง และลุกต่างๆอาจทำให้เสียการ ทรงตัวได้ การเปลี่ยนจากโถส่วมเป็นโถชักโครกก็ถือเป็นการป้องกันได้ดีเลยทีเดียว
.
วิธีเลือกชักโครกสำหรับผู้สูงอายุ
ฝารองนั่งต้องแข็งแรงปลอดภัย : จะมีอยู่ 3 แบบ คือ ตัวโอ , ตัวยู , ตัววี ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสกับร่างกายผู้สูงอายุโดยตรง จึงต้องพิจารณาเรื่องความแข็งแรงของวัสดุเป็นพิเศษ แนะนำให้เลือกฝาที่ทำมาจากยูเรีย เพราะจะมีความเหนียว ไม่เหลืองซีด ทนต่อการแตกหัก ซึ่งจะทำให้เรามั่นใจได้มากกว่า
ขนาดนั้นพอดีต่อผู้ใช้ : สัดส่วนก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ โดยมีขนาดมาตรฐานที่กำหนดไว้ชัดเจน คือมีความกว้างประมาณ 35 – 40 เซนติเมตร และมีความสูงจากพื้นถึงที่รองนั่งประมาณ 37 – 45 เซนติเมตร แต่สำหรับผู้สูงอายุควรมีความสูงประมาณ 45 เซนติเมตรเพื่อช่วยให้ลุกนั่งได้ง่าย
รูปแบบอำนวยต่อความสะดวก : ในเรื่องของรูปแบบอำนวยต่อความสะดวกก็สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นหัวกดของชักโครก หรือปุ่มแบบฟลัช แต่หากอยู่ในตำแหน่งด้านข้างซึ่งส่วนใหญ่ฝั่งขวาจะทำให้ง่ายต่อการใช้งานมากกว่า แต่ควรเป็นหัวกดชักโครกแบบคันโยก ไม่ควรเป็นแบบกด เพราะผู้สูงอายุต้องออกแรงมากกว่า
ประหยัดน้ำ ราคาน่ารัก : ในปัจจุบันจะผลิตโดยใช้น้ำตั้งแต่ 2 ลิตร – 5 ลิตร ต่อการกดหนึ่งครั้ง แต่หากยิ่งใช้ปริมาณน้อยเท่าไหร่ ก็จะยิ่งประหยัดน้ำมากขึ้น ซึ่งข้อนี้ควรพิจารณาในเรื่องของราคาควบคู่ไปด้วย
ราวจับ หรือราวพยุง : หลังจากใช้งานชักโครกเสร็จ ผู้สูงอายุจะมีจังหวะที่ต้องลุกขึ้น ซึ่งจำเป็นมากๆที่จะต้องมีตัวช่วยรับน้ำหนัก เพื่อให้ยืนได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรติดราวจับไว้ข้างๆโถในตำแหน่งที่เหมาะสม
AUTHOR
ณัฐวดี คงสมบูรณ์
Content Creator Above All Online Marketing Services
GRAPHIC DESIGNER
ณัฐพงศ์ จริยะนันตกุล
Graphic Design Director Above All Online Marketing Services